(+86) 18613012387

ระบบทางเดินอาหารของคุณเป็นอย่างไรบ้าง

วันที่เผยแพร: 2023-06-15

ระบบทางเดินอาหารของคุณเป็นอย่างไรบ้าง

     ระบบทางเดินอาหารเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย โดยปกติแล้วแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารจะมีจำนวนที่มีความสมดุล  จากงานวิจัยพบถึงความสันพันธ์ระหว่างจำนวนของแบคทีเรียนในระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่พฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะจะทำลายระบบทางเดินอาหาร

ในชีวิตปกติของเราพฤติกรรมใดบ้างที่ทำลายระบบทางเดินอาหาร

1. กินอาหารที่ผ่านการแก้ไขรหัสพันธุกรรม

     ทุกคนรู้ว่าชนิดของพืชและสัตว์ที่ผ่านการแก้ไขรหัสพันธุกรรมนั้นไม่ดี เพราะว่าอาหารเหล่านี้จะเข้าไปทำลายระบบทางเดินอาหาร การเก็บรักษาพืชและเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแก้ไขรหัสพันธุกรรมนั้นจะต้องใช้สารไกลโซเฟต หากรับประทานอาหารที่ผ่านรหัสพันธุกรรมจำนวนมากจะเข้าไปทำร้ายระบบทางเดินอาหารได้

01.jpg

2. ใช้ยาปฏิชีวนะมากจนเกินไป

     การใช้ยาปฏิชีวนะจะส่งผลต่อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารอย่างเห็นได้ชัด เพราะยาปฏิชีวนะไม่สามารถแบ่งแยกระหว่างแบคทีเรียชนิดดีและชนิดเลวได้ หากไม่จำเป็นจริงๆก็ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ กลุ่มยาแก้สับเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ อาจจะทำให้เยื่อบุลำไสทำงานผิดปกติจนเกิดอาการลำไส้รั่ว ทำให้สิ่งแปลกปลอมหลุดรั่วเข้าไปยังระบบเลือดได้ ทำให้เกิดการอักเสบส่งผลให้ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันลดลง

02.jpg

3. รับประทานอาหารที่มีน้ำตาล หรือสารให้ความหวานมากจนเกินไป

     การรับประทานของหวานจำนวนมากจะทำให้เชื้อแบคทีเรียแคนดิดาอัลบิแคนส์เพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ เข้าไปเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร น้ำตาลเทียมจะทำให้เกิดความผิดปกติในระบบเผาพลาญและระบบฮอร์โมน เปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของแบคทีเรียในลำไส้ เกิดอาหารความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง และมีผลให้เกิดโรคต่างๆได้ นอกจากนี้อาหารที่มีสารกันบูดก็ไม่ควรรับประทานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในอาหารที่มีสารกันบูดโดยมากจะมีสารที่เรียกว่า “อิมัลชั่น” ซึ่งไปมีผลกระทบต่อเชื้อแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ได้เช่นกัน

03.jpg

4. อาหารมัน

     การรับประทานอาหารที่มีน้ำมันและไขมันสูง จะทำให้เชื้อแบคทีเรียในลำไส้เสียความสมดุล ความสามารถในการปกป้องลำไส้ลดลง

     แนะนำ: ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด อาหารประเภทเนื้อสัตว์ไม่ควรมากกว่า 10% ของอาหารทั้งหมดที่รับประทานในแต่ละวัน รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ให้เยอะขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ขึ้นฉ่าย รากบัว แครอท บร็อคโคลี่ อโวคาโด แอปเปิ้ล กล้วย ส้ม เป็นต้น

04.jpg

5. การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักหรือดื่มน้ำน้อยเกินไป

     หน้าที่หลักอย่างนึงของลำไส้ใหญ่นั่นก็คือการดูดซับน้ำที่อยู่ในอุจจาระออกมา ยิ่งร่างกายขาดน้ำมากเท่าไหร่อุจจาระก็จะยิ่งแห้งมากเท่านั้น ขณะอดอาหารทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้แบคทีเรียในลำไส้เสียความสมดุล ส่งผลให้ระบบขับถ่ายผิดปกติ

05.jpg

6. ไม่ออกกำลังกายทำให้เป็นโรคอ้วน

     จากการสำรวจพบว่า หากขาดการออกกำลังกายจะทำให้จำนวนของแบคทีรียในลำไส้เกิดความผิดปกติทำให้เกิดโรคและโรคอ้วนได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร ลำไส้ตรง และเกิดโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้อีกด้วย

06.jpg

7. ไม่ทำความสะอาดตู้เย็น

     หากไม่ทำความสะอาดตู้เย็นเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อเชื้อลิสทีเรียในตู้เย็น ซึ่งเชื้อตัวนี้สามารถอาศัยอยู่ในช่องฟรีตได้ จะปนเปื้นไปในเนื้อสัตว์และผลไม้ได้ ควรจะใช้แอลกอฮอล์75%หรือน้ำส้มสายชูเช็ดทำความสะอาดตู้เย็น และใช้น้ำสะอาดเดทำความสะอาดอีกครั้ง เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรียภายในตู้เย็น

07.jpg

     หากมีพฤติกรรมไม่ดี ควรที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านั้นโดยทันที โรงพยาบาลมะเร็งรอยัลลีกวางโจวได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ดังนี้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่สบายทางระบบทางเดินอาหาร ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น การตรวจด้วยการส่องกล้องถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด แนะนำว่าบุคคลที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรที่จะเข้าการตรวจเป็นประจำตามที่แพทย์แนะนำ

ติดตามเราได้ที่ รู้ทันข่าวสารโรคมะเร็ง
*
*
*
มี ไม่มี