(+86) 18613012387

ริดสีดวง vs เนื้องอกทวารหนัก รู้เร็วรักษาได้ไว

วันที่เผยแพร: 2023-02-23

ริดสีดวง vs เนื้องอกทวารหนัก รู้เร็วรักษาได้ไว

   คนจีนมีคำพูดที่พูดกันว่า ผู้ชาย 9 ใน 10 คน มีอาการของริดสีดวงทวารหนัก เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นว่าตัวเองมีอุจจาระปนเลือด หรือมีอาการผิดปกติที่หูรูทวารหนักจะคิดว่าตนเองเป็นแค่ “ริดสีดวง” เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ว่าเนื้อขนาดเล็กที่เกิดขึ้นบริเวณหูรูดทวารหนักจะเป็นแค่“ริดสีดวง”เสมอไป มันอาจจะเป็นเนื้องอกก็ได้

   เนื้องอกบริเวณหูรูดทวารหนักซึ่งเป็ฯเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อพังผืดหูรูดหรือท่อทวารหนัก หรือเนื้องอกชนิดกลมที่มีการขยับขึ้นลงภายในส่วนล่างของลำไส้ตรง โดยเกิดขึ้นจากเนื้องอกติดกับบริเวณเนื้อเยื่อพังผืดเมื่อลำไส้มีการขยับตัวหรือเวลาในการควบคุมอุจจาระเป็นเวลานาน โดยส่วนมากเกิดจากการกระตุ้นของอุจจาระ ส่วนมากที่พบจะเป็นเนื้องอกชนิดดี มีน้อยที่จะพบว่าเป็นเนื้องอกชนิดเลว ในชนิดของเนื้องอกที่พบบริเวณหูรูดทวารหนักทั้งหมด พบว่าเนื้องอกชนิด adenoma นั้นเป็นชนิดของเนื้องอกที่มีการกลายพันธ์เป็นเนื้อเยื่อมะเร็ง ขนาดของเนื้อเยื่อและจำนวนเนื้อเยื่อขนอ่อนบนเนื้อเยื่อนั้นๆ กำหนดอัตราการกลายพันธ์เป็นเนื้อเยื่อมะเร็ง

   ทั้งที่เป็นเนื้องอกขนาดเล็กเหมือนกัน แต่ความแตกต่างของเนื้องอกและริดสีดวงอยู่ตรงไหน?

 

เนื้องอก

ริดสีดวงทวาร

อุจจาระเป็นเลือด

 หากมีอาการอุจจาระเป็นเลือดแต่ไม่มีอาการเจ็บแสดงว่าเป็นเนื้องอก และมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ไม่มีอาการเลือดออกทางทวารหนัก   หรือมีเลือดออกเพียงแค่เล็กน้อย หากขณะถ่ายอุจจาระเกิดการเบียดกับก้อนเนื้องอก   ตัวเนื้องอกอาจจะมีการหลุดออกจากบริเวณเดิม หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ตำแหน่งของเนื้องอกต่ำ   ลักษณะเด่นของอาการคืออุจจาระติดเลือด แต่จะไม่มีอาการเลือดไหลหยด

 เลือดไหลหยด เลือดพุ่ง   หรือว่ามีเลือดติดมากับอุจจาระ ลักษณะของเลือดเป็นสีแดงสด ครอบคลุมบนเนื้ออุจจาระ   อาการเลือดออกแต่ไม่มีอาการเจ็บ

อาการเนื้อเยื่อแปลกปลอมเคลื่อนที่

  เนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมาก   เนื่องจากน้ำหนักของเนื้องอกทำให้เกิดอาการดึงรั้ง   การอุจจาระหรือลำไส้มีการขยับตัวทำให้เนื้องอกมีการขยับตัวและหลุดออก

  กล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกมีเนื้องอกโพล่ออกมา ในช่วงแรกหลังอุจจาระจะหดกลับเข้าไปได้   แต่ระยะหลังจะต้องใช้มือช่วยดันถึงจะกลับเข้าไปได้

ระดับความเจ็บปวด

  การขยับของลำไส้จะเข้าไปดึงรั้งเนื้องอก จึงอาจจะทำให้มีอาการข้างเคียง   เช่น อาการปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระออกมามีเลือดหนอง เป็นต้น

  ปวดแสบร้อนบริเวณหูรูดของทวารหนัก อาการปวดแบบหน่วงๆ   ช่วงที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดมาก ทำให้นั่งแทบจะไม่ได้

   ในปัจจุบัน วิธีการตรวจเนื้องอกบริเวณหูรูดทวารหนัก ใช้วิธีมือคลำและการส่องกล้อง การส่องกล้องทำให้เราสามารถเห็นความชัดเจนของเนื้องอกที่เกิดขึ้นได้ เพิ่มความสำเร็จของการตรวจรักษาให้ดียิ่งขึ้น

ติดตามเราได้ที่ รู้ทันข่าวสารโรคมะเร็ง
*
*
*
มี ไม่มี