ติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งใช่หรือไม่

คนในปัจจุบันให้ความสนใจกับารตรวจสุขภาพมากยิ่งขึ้น การตรวจพบติ่งเนื้อก็ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นในสายตาของคนทั่วไป โดยส่วนมากแล้วติ่งเนื้อที่พบจะเป็นเนื้องอกชนิดดี ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ถึงกระนั้น ก็มีติ่งเนื้อหลายชนิดที่มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ง่าย ควรที่จะต้องกำจัดออกโดยเร็ว โดยปกติหากตรวจพบติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร ลำไส้ควรที่จะผ่าตัดออกโดยทันที
ติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารเนื้อเยื่อที่เกิดการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติบริเวณเนื้อเยื่อภายในของกระเพาะอาหาร ไม่ใช่บริเวณที่จะพบได้ง่าย อาการเกี่ยวข้องที่อาจจะแสดงถึงความผิดปกติมีดังนี้ ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ และอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
ติ่งเนื้อในกระเพาะอาหารสามารถแบ่งออกได้เป็นติ่งเนื้อริเวณช่วงล่างของกระเพาะอาหาร อาการอักเสบเรื้อรังจะเข้าไปกระตุ้นการเกิดติ่งเนื้อในกระเพาะอาหาร อัตราการการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งชนิดอะดีนอยด์ โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยที่พบติ่งเนื้อไม่ว่าจะเป็นขนาดแค่ไหนก็ตามควรจะกำจัดออกทันที เพราะว่าเมื่อเนื้องอกเกิดการขยายขนาด อัตราการกลายพันธุ์เป็นเนื้อเยื่อมะเร็งก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพราะฉะนั้นจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดออกโดยเร็วที่สุด ในปัจจุบันวิธีการรักษามีสองวิธี 1 ส่องกล้องเพื่อทำการตัดเนื้อเยื่อออก 2 การผ่าตัด
ติ่งเนื้อบริเวณลำไส้ติ่งเนื้อบริเวณลำไส้เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นมา โดยแบ่งเนื้องอกชนิดนี้ออกเป็นสองประเภท คือติ่งเนื้อชนิดไม่ใช่มะเร็งกับติ่งเนื้อชนิดอะดีนอยด์ ติ่งเนื้อชนิดไม่ใช่มะเร็งมีดังนี้ ติ่งเนื้อที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ ติ่งเนื้อที่เกิดการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ แทบจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้แม้แต่น้อย แต่ติ่งเนื้อชนิดอะดีนอยด์เป็นติ่งเนื้อที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นมะเร็งระยะเบื้องต้น
อย่างไรก็ตาม การกลายพันธุ์เป็นเนื้อเยื่อมะเร็งของเนื้องอกชนิดอะดีนอยด์นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย แต่ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนของเนื้องอกที่เกิดขึ้น โดยปกติแล้ว หากมีการพบเนื้องอกแค่ 1-2 จุดอัตราการเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อมะเร็งต่ำมาก แต่ยิ่งเนื้องอกมีขนาดใหญ่และจำนวนมากโอกาสการกลายพันธุ์ก็จะเพิ่มสูงขึ้น หากตรวจพบ ควรจะทำการตัดออกโดยทันที ป้องกันการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งลำไส้ในภายหลัง
คุณหมอแนะนำ